ไม้อัดแบบ คือไม้ประเภทไหน?

แชร์ให้เพื่อน :

ไม้อัดแบบ คือไม้ประเภทไหน?

ไม้อัดแบบ, ไม้อัดหล่อแบบ, ไม้อัดทำแบบ

ไม้อัดแบบ คือ ไม้อัดที่ใช้สำหรับการหล่อคอนกรีต หล่อแบบเสา หล่อแบบคาน หรืองานโครงสร้างที่ต้องการความแข็งแกร่ง ไม้อัดแบบมี 2 ชนิดที่นำมาใช้เป็นประจำ คือ
1.ไม้อัดยาง
2.ไม้อัดฟิล์มดำ

โดยการเลือกใช้งาน จะเลือกโดยช่างที่ต้องการใช้งาน โดยไม้อัดแบบที่เหมาะกับการหล่อแบบคอนกรีตที่สุดคือ “ไม้อัดฟิล์มดำ


– ไม้อัดแบบ ไม้อัดยาง

เป็นไม้อัดยางที่ไม่ใช่เกรดเฟอร์นิเจอร์ เนื้อไม้ และผิวไม้มีความเรียบ ช่างบางคนนิยมนำไม้อัดยางมาตัดทำไม้แบบหล่อคอนกรีต เพราะใช้งานง่าย ราคาประหยัด และหาซื้อง่าย
ขนาดไม้อัดแบบ ไม้อัดยางมีขนาด 1.2×2.4 เมตร และมีความหนา 10, 15 หรือ 20 มิลลิเมตร

ข้อดีของไม้อัดยางทำแบบ
* ราคาประหยัด
* หาซื้อง่ายตามร้านไม้ หรือร้านวัสดุทั่วไป
* ใช้งานง่าย


– ไม้อัดแบบ ไม้อัดฟิล์มดำ
มีลักษณะเป็นแผ่นไม้ที่เคลือบด้วยฟิล์มพลาสติก หรือฟิล์มฟิโนลิก ซึ่งช่วยป้องกันปูนไม่ให้ยึดติดแน่นกับแผ่นไม้ ทำให้ถอดแบบได้สะดวก และสามารถนำกลับมาใช้ซ้ำได้อีก เป็นไม้อัดที่ทำสำหรับหล่อแบบคอนกรีตโดยเฉพาะ เหมาะสำหรับหล่อแบบเสา แบบคาน ทำพื้นโพสเทนชัน
ขนาดของไม้อัดฟิล์มดำ ไม้อัดฟิล์มดำมีขนาด 1.2×2.4 เมตร และมีความหนา 10, 15 หรือ 20 มิลลิเมตร

ข้อดีของไม้อัดฟิล์มดำทำแบบ
* ราคาประหยัด
* หาซื้อง่ายตามร้านไม้ หรือร้านวัสดุทั่วไป
* ใช้งานง่าย ลอกแบบง่าย
* เหมาะสำหรับใช้เป็นไม้อัดแบบคอนกรีตโดยเฉพาะ


แชร์ให้เพื่อน :

ไม้อัดฟิล์มดำทาสีได้ไหม

แชร์ให้เพื่อน :

ไม้อัดฟิล์มดำทาสีได้ไหม

มีหลายคนสงสัยว่า ไม้อัดฟิล์มดำสามารถทาสีได้มั๊ย หรือทำสีได้มั้ย จริงๆ แล้วไม้อัดฟิล์มดำเป็นไม้อัดสำหรับทำแบบ หล่อแบบคอนกรีต ไม่ใช่ไม้อัดสำหรับเฟอร์นิเจอร์อยู่แล้ว จริงไม่ควรทำสี และไม่เหมาะกับการทำสี หรือทาสี ดังนั้นไม้อัดฟิล์มดำไม่ควรทาสี เพราะไม่เหมาะที่จะทาสี

สรุปทำไม ไม้อัดฟิล์มดำไม่ควรทาสี
1. ไม้อัดฟิล์มดำไม่ใช่ไม้อัดเฟอร์นิเจอร์ ไม่ควรทำสี หรือทาสี
2.ไม้อัดฟิล์มดำมีฟิล์มเคลือบ ทำให้ทาสีไม่ติด

 

 

แชร์ให้เพื่อน :

ไม้อัดฟิล์มดํา 15 มิล ราคาเท่าไร

แชร์ให้เพื่อน :

ไม้อัดฟิล์มดํา 15 มิล ราคาเท่าไร

สวัสดีครับ วันนี้เราจะมาสำรวจราคาไม้อัดฟิล์มดำตัว 15 มิล ในท้องตลาดกันครับ ว่าขายอยู่ที่ราคาเท่าไหร่กันบ้าง

ที่แรกที่เราเข้าไปดูคือ ร้านโมเดิร์นเทรดแห่งหนึ่งครับ ไม้อัดตัวแรกคือไม้อัดฟิล์มดำเกรดธรรมดา ราคาอยู่ที่ 385 บาท ต่อแผ่น ไม้อัดตัวที่สองเป็นไม้อัดฟิล์มดำ 15 มม. เกรด AA ราคาอยู่ที่ 615 บาทต่อแผ่น

ที่ที่สองที่เราเข้าไปดูคือ ห้างโมเดิร์นเทรดเช่นเดียวกัน ราคาไม้อัดฟิล์มตัว 15 มม. อยู่ที่ 377 บาท ต่อแผ่น

โดยราคาไม้อัดฟิล์มดำ ที่สำรวจแล้วสรุปได้ดังนี้

– ไม้อัดฟิล์มดำ 15 มม. เกรด A ราคาอยู่ที่ 375-400 บาท/แผ่น
– ไม้อัดฟิล์มดำ 15 มม. เกรด AA ราคาอยู่ที่ 520-630 บาท/แผ่น
– ไม้อัดฟิล์มดำ 15 มม. เกรด AAA ราคาอยู่ที่ 600++ บาท/แผ่น เช่นบางที่ ราคา 619 บาท ต่อแผ่น


ราคาไม้อัดฟิล์มดำ 15 มม.

ไม้อัดฟิล์มดำ 15 มม. เกรด A 375-400 บาท/แผ่น
ไม้อัดฟิล์มดำ 15 มม. เกรด AA 520-630 บาท/แผ่น
ไม้อัดฟิล์มดำ 15 มม. เกรด AAA 600++ บาท/แผ่น

 

หากท่านกำลังมองหา ไม้อัดฟิล์มดำ 15 มม. ที่ราคาดีและใช้งานได้หลายรอบ สามารถสอบถามทางเราได้เลยครับ

แชร์ให้เพื่อน :

ไม้อัดฟิล์มดำ 15 มม.

แชร์ให้เพื่อน :

ไม้อัดฟิล์มดำ 15 มม.

ไม้อัดฟิล์มดำขนาด 15 มม. เป็นไม้อัดฟิล์มดำขนาดที่นิยมใช้งานมากที่สุดในท้องตลาด เพราะมีความแข็งแรงและทนทาน พร้อมนำไปใช้งานได้เกือบทุกประเภท เป็นไม้อัดที่เคลือบผิวด้วยฟิล์มสีดำที่ทนทานต่อการกัดกร่อนและความชื้น

“ไม้อัดฟิล์มดำ 15 มิลลิเมตร เป็นไม้อัดฟิล์มดำ ที่นิยมใช้กันมากที่สุด ทั้งหน้างานที่ใช้และร้านค้า ก็สั่งซื้อไม้ตัดดำตัว 15 มม. มากที่สุด”



ขนาดของไม้อัดฟิล์มดำ

ไม้อัดฟิล์มดำ 15 มม.

  • ขนาดความหนา 15 มิลลิเมตร
  • ขนาดความกว้าง x ยาว 120 x 240 เซนติเมตร (4 x 8 ฟุต)

 

คุณสมบัติของไม้อัดฟิล์มดำ 15 มม.

  • มีความหนา 15 มิลลิเมต
  • ขนาด กว้างxยาว 1.2*2.4 เมตร หรือ 4*8 ฟุต
  • แข็งแรง ทนทาน ใช้งานได้ทุกประเภทงาน มีแบบไส้เต็มและไส้ต่อ
  • ใช้ไม้ยางพาราหรือไม้ยางเป็นวัสดุหลักในการผลิต

 

การใช้งานไม้อัดฟิล์มดำ 15 มม.

  • ไม้อัดฟิล์มดำ 15 มม. เป็นชนิดของไม้อัดที่นำไปใช้ในงานก่อสร้าง เช่น การหล่อแบบคอนกรีต หรือการทำพื้นโพสเทนชั่น สามารถใช้งานซ้ำได้หลายครั้ง ได้ผิวคอนกรีตที่เรียบและสวย
  • ไม้อัดฟิล์มดำ 15 มม. จะมีความแข็งแรงทนทานสูง ไม่ยืดหยุ่นหรือหดตัวง่าย เหมาะสำหรับการใช้เป็นแบบหล่อคอนกรีตที่ต้องการความเรียบเนียนของผิวไม้
  • ไม้อัดฟิล์มดำ 15 มม. เกรด A เป็นไม้อัดฟิล์มดำที่มีคุณภาพสูงที่สุด เนื้อฟิล์มเกรดพรีเมี่ยมที่ทนทานและใช้งานได้จำนวนหลายครั้ง

 



แชร์ให้เพื่อน :

ไม้อัดยาง สำหรับทำชั้นวางของ

แชร์ให้เพื่อน :

ไม้อัดยาง สำหรับทำชั้นวางของ

ไม้อัดยาง คือ ไม้อัดที่ผลิตมาจากไม้ซุงเบญจพรรณประเภทต่างๆ ที่นำมาปอกมาฝานให้เป็นแผ่นบางๆ หลายๆแผ่น หลายๆขนาด และนำหลายๆแผ่นนั้นมาผสมกาวและเข้าเครื่องอัดกดทับให้มีความแข็งแรงและให้ได้ตามขนาดความหนาที่ต้องการ

ความหนาของไม้อัดยางอยู่จำนวนไม้หลายๆชั้นที่วางซ้อนกันและถูกกดทับอัดลงมาด้วยความร้อนให้ได้ระยะความหนาของเครื่องที่ตั้งไว้ โดยส่วนใหญ่คนจะเข้าใจว่าไส้ไม้อัดยางทำจากไม้ยาง แต่ความเป็นจริงแล้ว ไส้ไม้อัดยางก็ทำมาจากไม้ชนิดอื่นๆ เพียงแค่ปิดหน้าไม้อัดด้วย “ไม้ยาง” แค่นั้นเอง

ความหนาของไม้อัดยางมีดังนี้
4 มม./ 6 มม. / 10 มม. / 15 มม. / 20 มม. / 25 มม. / 30 มม.


ไม้อัดทำชั้นวาง เป็นวิธีการนำไม้อัดมาตัดและประกอบเป็นชั้นวางของต่าง ๆ ด้วยวิธีการง่ายๆ และประหยัด คุณสามารถเลือกไม้อัดที่เหมาะสมกับการใช้งานและการรับน้ำหนัก

* ไม้อัดยางทำชั้นวางที่รับน้ำหนักไม่มาก เช่น ชั้นวางของในห้องนอน ในบ้าน ที่รับน้ำหนักไม่มาก ก็เลือกใช้ไม้อัดยางที่มีความหนาไม่มาก เช่นไม้อัดยางตัว 4 มม. / 6 มม. เป็นต้น

* ถ้าคุณต้องการทำชั้นวางของที่รับน้ำหนักมากยิ่งขึ้น เช่น ชั้นวางในร้านชำ, คาเฟ,ร้านขายของ ที่วางของค่อนข้างเยอะ และรับน้ำหนักเยอะหน่อย อาจจะเลือกใช้ตัวไม้อัดยางที่ความหนามากขึ้น เช่นตัว 10 มม. / 15 มม. เป็นต้น

* ถ้าคุณต้องการทำชั้นวางของ ที่รับน้ำหนักเยอะๆ เช่น โกดังเก็บของ , ชั้นวางของในร้านวัสดุก่อสร้าง, ร้านขายของ ต้องเลือกใช้ไม้อัดยางที่หนาขึ้นมาหน่อย เช่น ไม้อัดยาง 20 มม. / 30 มม. เป็นต้น

ขั้นตอนการทำชั้นวางของจากไม้อัดยาง แบบง่ายๆ

การทำชั้นวางจะต้องมีเครื่องมือและอุปกรณ์ดังต่อไปนี้

• ไม้อัดยางความหนาที่เหมาะสม แผ่นไม้อัด: เพื่อปูพื้นหรือผนังของชั้นวาง
• ไม้โครง เพื่อใช้เป็นโครงของชั้นวางของ
• เลื่อยไฟฟ้า: เพื่อตัดไม้อัดตามขนาดที่ต้องการ
• เจียร์ไฟฟ้า: เพื่อขัดผิวไม้อัดให้เรียบ
• สกรู: เพื่อยึดไม้อัดเข้ากับโครงสร้าง
• สี: เพื่อทาผิวไม้อัดให้สวยงาม


การทำชั้นวางจะมีขั้นตอนการทำประมาณนี้

1. วาดแบบชั้นวางที่ต้องการ
2. วัดและตัดไม้อัดตามขนาดที่จำเป็น
3. ขัดผิวไม้อัดให้เรียบ สวยงาม
4. ประกอบโครงสร้างของชั้นวางโดยใช้สกรู ประกอบไม้อัดเข้ากับโครงของชั้นวาง
5. ปูพื้นหรือผนังของชั้นวางโดยใช้สกรู
6. ทาสีผิวไม้อัดให้สวยงาม
7. นำไปใช้งานตามความต้องการ

แชร์ให้เพื่อน :